EVAT จัดงานเสวนา “ยานยนต์ไฟฟ้า เปลี่ยนอย่างไรให้ยั่งยืน”

New Energy

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เเนะใช้ยานยนต์ไฟฟ้าช่วงวิกฤตราคาน้ำมันพุ่ง  พร้อมผลักดันการ สร้างโมเดลธุรกิจ ด้านนวัตกรรม และ การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงในประเทศ สู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน

                เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565 สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) นำโดยนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ เเละ กรรมการสมาคมฯ ได้ร่วมมือกับบริษัท  รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด ผู้นำด้านงานเเสดงสินค้าเเห่งอาเซียน จัดงานเสวนา “ ยานยนต์ไฟฟ้า เปลี่ยนอย่างไรให้ยั่งยืน” EV Innovation and Conversion for Sustainable Future ในงานเมทัลเล็กซ์ มาร์ช มหกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกลโลหะการอันดับหนึ่งของอาเซียน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2565 ในปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 35 เเล้ว ในส่วนของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า ได้มีการจัดแสดงนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และ นวัตกรรมดัดเเปลงยานยนต์ไฟฟ้าไทย ภายในโซน อินไซด์เดอร์ บูท 028 ฮอลล์ 100  ณ ศูนย์ประชุมเเละจัดนิทรรศการนานาชาติไบเทคบางนา

                โดยงานเสวนา “ยานยนต์ไฟฟ้า เปลี่ยนอย่างไรให้ยั่งยืน” EV Innovation and Conversion for Sustainable Future  ได้มีการเริ่มบรรยายช่วงเเรกในหัวข้อ “ เปลี่ยนเเนวคิดสู่นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อความยั่งยืน “ โดย รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี (มจธ.) เเละนายกสมาคมกิตติมศักดิ์ สมาคมฯ กล่าวว่า คนที่จะเป็นนักพัฒนานวัตกรรมให้สำเร็จ เพื่อเป็นธุรกิจใหม่ต้องมีเเนวคิดที่สร้างสรรค์ เข้าใจการพัฒนาที่ยั่งยืน และจะต้องมีความเชื่อที่จะมุ่งมั่นพัฒนาเเนวคิดนั้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญที่สุดต้องมีความเพียร อดทน เเละมีความกล้าหาญในการลงมือทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆด้วย

                คุณสรณัญช์ ชูฉัตร ผู้ก่อตั้ง เเละประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีทราน(ประเทศไทย) จำกัด (ETRAN)  ได้บรรยายว่า อีทรานเริ่มจากการอยากทำขนส่งที่สร้างความยั่งยืนให้ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนในทุกๆระยะทาง ตั้งแต่การผลิต จนถึงบนท้องถนน โดยเริ่มจากกลุ่มผู้ใช้งานที่มีความต้องการใช้งานพลังงานในการขนส่งสูง เช่นธุรกิจขนส่ง delivery มอเตอร์รับจ้างสาธารณะ หลังจากผ่านการระดมทุนในรอบ series a สามารถเริ่มการผลิตได้ โดยมีเป้าหมายผลิต 5,000 คันในปีนี้

               สำหรับปัญหาที่สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมงานประสบร่วมกัน อาทิ สเกตการผลิตรถจักรยายนต์ไฟฟ้าที่ทมีจำนวนน้อย ส่งผลให้ราคาแบตเตอรี่ ราคาอะไหล่ค่อนข้างสูง ปัญหาการปล่อยสินเชื่อของไฟแนนซ์ ความเปลี่ยนแปลงของนวัติกรรมรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ที่อาจไม่มีการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่เพราะการพัฒนาที่ก้าวไกลขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น 

                คุณณัฐพัชร เลิศวิริยะสวัสดิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเเละประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอดิสัน มอเตอร์ จำกัด กล่าวว่า บริษัท เรามีแนวคิด ที่เราเริ่มจากความรักเเละความหลงไหลในอุตสาหกรรมยานยนต์  เเละมีความมุ่งมั่นที่อยากจะมีส่วนร่วมที่จะสร้างอนาคตให้กับวงการ โดยเริ่มจากการเป็น สตาร์ทอัพเล็กๆ ด้วยเป้าหมาย คือการพัฒนาไปให้ไกลในระดับโลก ซึ่งล่าสุด เอดิสัน ได้ ร่วมมือกับ Giken  Mobility บริษัทในเครือ GSS Energy  บริษัทพลังงานชั้นนำ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ในสิงคโปร์  ในส่วนนี้ เอดิสัน มอเตอร์ จะเป็นผู้ถือเเพลตฟอร์ม เเละเทคโนโลยีของตัวเอง ส่วน Giken Mobility เป็นผู้ผลิตเเละประกอบรถจักรยานยนต์ ที่มีความสามารถในการผลิตเเละการที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการระดับโลกได้”
               ขณะนี้ได้ร่วมมือกับ ISO แบรนด์เก่าจากอิตาลีที่ผลิตรถยนต์ลัมโบร์กินี มาผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยจะเปิดตลาดในไทยกลางปีนี้ เป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ไม่มีการสวอปแบตเตอรี่ ขายขาด ราคากลางประมาณ 5,000 เหรียญสหรัฐ แต่ยังไม่มีราคาขายในไทย โดยมีสเปกที่เชื่อได้ว่าผู้ขับขี่รถจักรยายนต์ไฟฟ้าน่าจะชื่นชอบ

                คุณพรฤดี อุทารวุฒิพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินโนหนี้ จำกัด กล่าวว่า จักรยานยนต์ไฟฟ้าและการสับเปลี่ยน (swap) แบตเตอรี่ ถือเป็นของใหม่ในประเทศไทย  เรายังต้องทดลองและมีโอกาสที่จะพัฒนาไปอีกไกลในอนาคต  ซึ่ง Winnonie มองเห็นว่าเป็นสิ่งที่สามารถช่วยให้คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมและสังคมดีขึ้น  เราต้องยอมรับที่จะเรียนรู้และเติบโตไปกับมัน

               ปัจจุบันมีผู้สนใจเช่าจักรยานยนต์ไฟฟ้าประมาณ 400-500 ราย ตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปี 2565 จะมีผู้สนใจเช่าจักรยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ราย จากจุดเริ่มต้นที่มีผู้เช่าเพียง 40 ราย ขณะนี้หากเช่าเป็นรายเดือน-รายปีจะมีค่าเช่าเฉลี่ยต่อวันประมาณ 120 บาทหรือเดือนละ 3,600 บาท โดยในอนาคตจะเพิ่มสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่เพิ่มเป็น 50 สถานี นอกจากนี้ ได้ตั้งเป้าว่า ปี 2025 มีผู้เช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 20,000 คัน

เอ็ดเวิร์ด ชัชวาลย์ เอเบ็ล

                ทิ้งท้ายการบรรยายด้วยหัวข้อ “เปลี่ยนระบบขับเคลื่อนรถยนต์เก่า ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ต้องเปลี่ยนอะไรบ้าง”  ในการบรรยายครั้งนี้ มีตัวเเทนจาก ดร. ศรัณย์ พันธ์สุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านยานยนต์ไฟฟ้าจาก ฝ่ายวิจัยเเละนวัตกรรม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ คุณเอ็ดเวิร์ด ชัชวาลย์ เอเบ็ล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดอททูดอท จำกัด เล่าว่า “แนวคิดที่เริ่มดัดแปลงเป็นรถไฟฟ้า เริ่มจากตัวผมเองมีรถเก่าที่ยังเป็นที่นิยมอยู่และยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก(รถโฟล์คเต่า)ในท้องตลาดแต่อะไหล่เริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ ทำให้ต้องหาวิธีทดแทนอะไหล่ และรถเก่าก็มีอัตราการกินน้ำมันอยู่มากและสร้างมลพิษ ทำให้เกิดความคิดที่มาของการดัดแปลงรถเป็นไฟฟ้า และเมื่อคิดค้นและผลิตชิ้นส่วนดัดแปลงได้ครบเลยคิดว่าการผลิตอุปกรณ์สำหรับรถชนิดเดิมเป็นจำนวนที่เหมาะสมก็จะสามารถนำมาดัดแปลงรถแบบเดิมได้ซ้ำแบบชุดคิทและเพื่อเป็นการลดต้นทุนและราคาของการแปลงลงไปได้อย่างมาก  ส่วนแผนระยะยาวการแปลงเป็นรถไฟฟ้าของรถรุ่นต่อไปก็จะใช้หลักการคิดแบบเดียวกันเพื่อพัฒนาออกมาเป็นชุดคิทมาขายได้อีก”

                ในส่วนของสมาคมฯ ได้มีการดำเนินงานในด้านการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคคลการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยได้ริเริ่มจัดโครงการเเข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ดัดแปลงเพื่อธุรกิจเเห่งอนาคต (EVAT X EGAT Electric Motorcycle Conversion Contest for Business Opportunity) จะจัดขึ้นในวันที่ 1-3 เมษายน พ.ศ. 2565 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ของภาคประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ถึงบทบาทด้านยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างองค์ความรู้ วางรากฐานเเละเเนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในประเทศ เเละเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจ เเละอาชีพใหม่ด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าดัดเเปลงในประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมเเข่งขันกว่า 100 ทีม เพื่อชิงถ้วยรางวัลจาก นายกรัฐมนตรีเเละเงินรางวัลมูลค่าสูงสุดกว่า 100,000 บาท