ปัญหา “ฝุ่น PM2.5” จะหมดไปจากกรุงเทพฯ ได้ไหม

New Energy

คนกรุงเทพฯ มาทำความรู้จักเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่กัน พร้อมกับแนวทางแก้ไขที่ทำได้จริง ในการแก้ปัญหามลพิษ PM2.5 โดยศูนย์วิจัย MOVE มจธ.

          ศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center หรือ MOVE มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าบุรี (มจธ.) เล็งเห็นถึงผลกระทบของปัญหา PM2.5 จึงได้ศึกษาและวิจัยการเเก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากภาคขนส่งทางถนนมาโดยตลอด โดยเฉพาะการพัฒนายานยนต์สมัยใหม่สำหรับประเทศไทย

         ในช่วงที่ผ่านมา ศูนย์วิจัย MOVE ได้ร่วมมือพันธมิตร ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช.  ทำโครงการ “การศึกษาความเป็นไปได้ในการทดแทนรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันด้วยยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ และยานยนต์ที่ได้มาตรฐานค่าไอเสียยูโร 6 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในบรรยากาศ”

          โดยเสนอให้มีการนำเทคโนโลยียานยนต์ต่อไปนี้มาทดแทนยานยนต์ดีเซล ทั้งระยะสั้นและยาว

          1. ยานยนต์ดีเซลใหม่ด้วยมาตรฐานค่าไอเสียยูโร 5 และ 6 มาใช้ทันที ซึ่งยานยนต์จะมีการติดตั้งระบบบำบัดไอเสีย (Aftertreatment System) เพื่อดักจับหรือกำจัดมลพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และสามารถลด PM ได้ถึง 95%

            2. ยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ทดแทนทั้งยานยนต์ใหม่และเก่า ที่มีการติดตั้งระบบการจ่ายเชื้อเพลิงเชื้อเพลิงแก๊สธรรมชาติในระบบการขับเคลื่อน

            3. ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่  (BEV) ซึ่งเป็นยานยนต์ที่ไม่ปลดปล่อยมลพิษจากปลายท่อ เนื่องจากเป็นยานยนต์ที่ไม่มีเครื่องยนต์สันดาปภายใน

         จากผลการจัดทำภาพฉายการปลดปล่อยมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 จากภาคขนส่งในอนาคตของประเทศไทย ในกรณีที่มีการดำเนินการตามนโยบายชาติด้านการลดการปลดปล่อยมลพิษจากยานยนต์ ได้แก่

         1. การส่งเสริมให้ปรับมาตรฐานการปล่อยไอเสียให้เป็นยูโร 5 หรือ ยูโร 6

         2. การส่งเสริมยานยนต์ใหม่ในปี ค.ศ. 2035 ที่จะเข้าสู่ตลาดเป็นยานยนต์ไร้มลพิษ 100%

         ทัั้งนี้ สามารถลดการปล่อยมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 จากภาคขนส่งทางถนนลง ในปีค.ศ. 2050 ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 87 เมื่อเทียบกับกรณี BAU