สดร.โชว์ภาพ “ดาวอังคาร” ช่วงใกล้โลกที่สุด 12 ม.ค. 68

สดร.โชว์ภาพ “ดาวอังคาร” ช่วงใกล้โลกที่สุด 12 ม.ค. 68 ที่ระยะห่างจากโลกประมาณ 96 ล้านกิโลเมตร มองเห็นพื้นผิวของดาวอังคาร รวมถึงเมฆที่ปกคลุมภูเขาไฟอีลิเซียม (Elysium Mons) และน้ำแข็งที่ปกคลุมบริเวณขั้วเหนือได้อย่างชัดเจน

Continue Reading

จับตา “ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด” คืน12 มกราคมนี้

สดร. เผย 12 มกราคม 2568 “ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด” ปรากฏสว่างสีส้มแดงบนท้องฟ้า ตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า สังเกตได้ด้วยตาเปล่า หากชมผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะเห็นพื้นน้ำแข็งสีขาวบริเวณขั้วของดาวอังคารได้

Continue Reading

รอชม “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” หลังเที่ยงคืนวันนี้ ถึงรุ่งเช้า 4 ม.ค. 68

สดร.เผยมีปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ต้อนรับปีใหม่ หลังเที่ยงคืนวันที่ 3 มกราคม – รุ่งเช้า 4 มกราคม 2568 เวลา 02:00 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า คาดอัตราการตกสูงสุด 80 ดวงต่อชั่วโมง ไร้แสงจันทร์รบกวน ชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศในพื้นที่โล่งและมืดสนิท

Continue Reading

สดร. เก็บภาพ สุริยุปราคาเต็มดวง 8 เมษายน 2567 มาฝากชาวไทย

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยภาพ “สุริยุปราคาเต็มดวง” วันที่ 8 เมษายน 2567 ณ เมืองโบรกเคนโบว์ รัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา แม้ขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้สภาพท้องฟ้ามีเมฆบางๆ ตลอดปรากฏการณ์ แต่ก็สามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์ลูกปัดของเบลีย์ ปรากฏการณ์แหวนเพชร ชั้นโคโรนา และเปลวสุริยะได้อย่างชัดเจน

Continue Reading

อย่าลืม.. คืนนี้นั่งจ้องท้องฟ้า มองหาฝนดาวตกเจมินิดส์ คาดอัตราตกเฉลี่ยสูงสุดหลังเที่ยงคืน 120-150 ดวงต่อชั่วโมง

สดร.ชวนชาวไทยชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ คืน 14 ถึง รุ่งเช้า 15 ธันวาคม 2566 เริ่มสังเกตได้เวลาประมาณ 20:00 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า คาดมีอัตราการตกเฉลี่ยสูงสุดช่วงหลังเที่ยงคืน ประมาณ 120-150 ดวงต่อชั่วโมง

Continue Reading

รอชม “จันทรุปราคาบางส่วน” เหนือฟ้าเมืองไทย เช้ามืดวันออกพรรษา 29 ตุลาคมนี้

สดร. เผยเช้ามืดวันออกพรรษา 29 ตุลาคม 2566 จะเกิด “จันทรุปราคาบางส่วน” เวลาประมาณ 02:35-03:52 น. ดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏเว้าแหว่งมากที่สุดเพียงร้อยละ 6 สังเกตได้ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ผู้สนใจรับชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ได้ทางเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

Continue Reading

ชวนจับตา 2 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ส่งท้ายเดือนสค. “ดาวเสาร์ใกล้โลก – ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกสุดในรอบปี”

สดร. ชวนติดตาม 2 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ส่งท้ายเดือนสิงหาคม “27 ส.ค. 66 – ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” และ “คืน 30 ถึงเช้า 31 ส.ค. 66 – “ซูเปอร์บลูมูน” ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” หากฟ้าใส ไร้ฝน ดูได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

Continue Reading

สดร.เผยภาพดาวศุกร์สว่างที่สุด อวดโฉมช่วงหัวค่ำ 10 ก.ค. 66

สดร.เผยภาพ “ดาวศุกร์สว่างที่สุด” ช่วงหัวค่ำ วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ปรากฏสว่างเด่น เหนือขึ้นไปมีดาวเรกูลัส (ซ้าย) เคียงข้างดาวอังคาร (ขวา) สังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 19:00 น. ถึงเวลาประมาณ 21:09 น. ในพื้นที่ที่ไร้ฝนสามารถชมความสวยงามได้อย่างชัดเจน

Continue Reading

รอชมได้เลย! ดาวศุกร์สว่างที่สุดครั้งแรกของปี หัวค่ำ 10 กรกฎาคมนี้

สดร. เผย ช่วงค่ำวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 “ดาวศุกร์สว่างที่สุด” ครั้งแรกของปีนี้ ปรากฏสว่างเด่นทางทิศตะวันตก ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงเวลาประมาณ 21:09 น. สังเกตด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์

Continue Reading