สถาบันลูกโลกสีเขียวจัดมอบรางวัลมิติใหม่ วิถี New Normal สี่ภาค ร่วมพลิกวิกฤติสิ่งแวดล้อมโลก

New Energy

สถาบันลูกโลกสีเขียวเชิดชู 42 ผลงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไทยใน 7 ประเภทรางวัล สะท้อนความเข้มแข็งชุมชนแก้วิกฤติผ่านเวทีมอบรางวัลลูกโลกสีเขียวสี่ภาคครั้งแรกเพื่อฝ่าโควิด 19 มอบกำลังใจนักอนุรักษ์มูลค่ารางวัลรวมกว่า 4 ล้านบาท เป็นทุนสนับสนุนนักอนุรักษ์สานต่องานอย่างยั่งยืน สอดคล้องทิศทางผู้นำนานาชาติถกประเด็นโลกร้อนผ่านเวที COP 26 มุ่งหวังแก้วิกฤติสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

          วันนี้ (30 พฤศจิกายน 2564) – ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการสถาบันลูกโลกสีเขียว และประธานกรรมการตัดสินผลงานรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 20 เปิดเผยว่า การจัดงานในวันนี้ แตกต่างจากพิธีมอบรางวัลใน 19 ครั้งที่ผ่านมาเนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิด 19  ภายใต้วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สถาบันลูกโลกสีเขียวก็ยังคงเดินหน้าปฏิบัติภารกิจต่อไปถึงแม้ว่าจะต้องมีการปรับการทำงานให้เข้ากับยุคสมัยและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างก็ตาม เช่นเดียวกันกับที่ชุมชนยังคงต่อสู้เพื่อรักษาป่า ยังใช้ป่าเพื่อแก้ปัญหาความยากจน สร้างป่าชุมชนเพื่อเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเรียนรู้ 

          สำหรับผลงานรางวัลทั้ง 42 ผลงานจากทั่วประเทศใน 7 ประเภท ประกอบด้วย ประเภทชุมชน 8 ผลงาน ประเภทกลุ่มเยาวชน 4 ผลงาน ประเภท “สิปปนนท์ เกตุทัต รางวัลแห่งความยั่งยืน”  7 ผลงาน ประเภทบุคคล 8 ผลงาน ประเภทงานเขียน 4 ผลงาน ประเภทความเรียงเยาวชน 9 ผลงาน และประเภทสื่อมวลชน 2 ผลงาน

         ดร.สุเมธ กล่าวว่า การทำงานรางวัลลูกโลกสีเขียวในการสนับสนุนคนตัวเล็ก ๆ ให้ร่วมมือร่วมใจอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า มาตลอดและต่อเนื่องกว่า 2 ทศวรรษนั้นเป็นมิติของการทำงานที่สะท้อนการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมระดับสากล ซึ่งก็ยังเป็นประเด็นเหตุและผลกระทบที่หยิบยกขึ้นมาหารือในระดับเวทีนานาชาติอย่างต่อเนื่องหรือแม้แต่เวทีประชุมล่าสุด COP 26 ก็ตาม

          ผลงานประเภทบุคคลยังมีความน่าสนใจเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา มีให้ได้เห็นถึงตัวอย่างบุคคลอย่าง นายดวงแก้ว สมพงษ์ ที่ท่องเที่ยวไปทั่วแต่สุดท้ายก็เกิดความคิดที่ต้องการอนุรักษ์ป่าในท้องถิ่นให้อุดมสมบูรณ์เหมือนบ้านอื่น จากสิงห์นักบิดกลายมาเป็นนักสร้างฝ่ายตัวยง มีตัวอย่างของ นายเดชา จือเหลียง คนที่ทำงานอนุรักษ์ป่าชายเลนมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง  มีตัวอย่างของการได้รับรางวัลซึ่งจะเป็นกำลังใจสำคัญให้ผู้เถ้าวัยชราอย่าง นายเลื่อน มีแสง ให้เกิดความภาคภูมิใจต่อการอนุรักษ์พืชพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างพลังพลึงธาร หรือแม้แต่รางวัลสำหรับพระคุณเจ้า หลวงตาปพนพัชร์ จิรธัมโม ที่ทำงานช่วยเหลือชาวบ้านให้พ้นจากความทุกข์ของโรคมะเร็งและเป็นที่พึ่งทางกายและจิตผ่านธรรมชาติบำบัด 

          สำหรับผลงานประเภทกลุ่มเยาวชนก็ยังมีอีกหลายผลงานที่คงให้ความสำคัญเรื่องการจัดการขยะ เรื่องการปลูกต้นไม้ และ เรื่องของการสร้างจิตสาธารณะในการดูแลผู้สูงวัย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ รางวัลประเภทกลุ่มเยาวชนมีความพิเศษตรงที่ว่า กลุ่มคนเหล่านี้คือเมล็ดพันธุ์ที่ต้องได้รับการเพาะเลี้ยงและต่อยอดให้เป็นต้นแบบในการขยายผลสู่นักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอนาคต

          ในขณะที่รางวัลความเรียง งานเขียน และสื่อมวลชน ก็ยังเป็นพลังปลุกให้สังคมตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่นับวันจะมีความซับซ้อนมากขึ้น และการใช้สื่อโซเชียลมีเดียที่จะมีผลต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอนาคต

          ส่วนผลงานทั้งรางวัลประเภทชุมชน และประเภท “สิปปนนท์ เกตุทัต รางวัลแห่งความยั่งยืน” ก็ต้องขอชื่นชมเพราะการทำงานให้เกิดความยั่งยืนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย  อีกทั้ง การทำงานกับกลุ่มคนให้มีความสามัคคี เพื่อมุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน โดยที่อาจจะต้องเสียสละผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวมนั้นเป็นเรื่องยาก ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือพื้นที่ป่ารวมกันหลายหมื่นไร่กระจายไปทุกภาคของประเทศ ด้วยพลังของชุมชนเครือข่ายลูกโลกสีเขียวครั้งที่ 20 มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่ง อาทิ ชุมชนวังตะกอ ชุมชนบ้านเหล่าเหนือ ฯลฯ เป็นต้น ดังนั้น ผลงานประเภทชุมชน และสิปปนนท์ฯ นั้นควรค่าแก่การยกย่องเชิดชูเป็นอย่างมาก

          ในอนาคต คนและทรัพยากรจะยิ่งต้องพึ่งพิงกันมากขึ้น ด้วยสถานการณ์โรคระบาดที่ทำให้คนกลับคืนถิ่น การรู้ใช้ รู้รักษาทรัพยากรจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกชุมชนต้องเร่งสร้างความตระหนักต่อการปรับตัวให้เข้ากับวิถีที่คนกับธรรมชาติจะอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน เพื่ออนาคตของลูกหลานไทย

          นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะกรรมการสถาบันลูกโลกสีเขียว กล่าวว่า ในวันนี้ บทบาทของสถาบันลูกโลกสีเขียวจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องจากวิกฤติโลกร้อนเป็นปัญหาระดับโลก ซึ่งนานาชาติล้วนตระหนักและให้ความสำคัญต่อแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และทุกคนทั่วโลกก็ล้วนให้การยอมรับว่า ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์นั้นมีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยลดหรือบรรเทาปัญหาโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น การดำเนินงานของสถาบันลูกโลกสีเขียวมีส่วนอย่างมากในการร่วมผลักดันประเทศไทยและโลกสู่สังคมคาร์บอนต่ำ 

          สำหรับการจัดพิธีมอบรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 20 นั้นดำเนินการภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 โดยจัดในรูปแบบ 4 ภาคเพื่อลดจำนวนผู้ร่วมงานในแต่ละเวที  มีเงินรางวัลรวมทั้งสิ้นกว่าสี่ล้านบาท โล่รางวัลพร้อมใบประกาศนียบัตร และทำการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กวารสารลูกโลกสีเขียว ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาสนับสนุนงานด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการจัดงานที่ว่า “พลังเปลี่ยนโลก : สร้างวิถีใหม่ให้เราอยู่รอด”

สรุปรายชื่อผลงานรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 20 รวมจำนวน 42 ผลงาน ใน 7 ประเภทผลงาน ดังนี้

1. ประเภทชุมชน จำนวน 8 ผลงาน ประกอบด้วย

1. ชุมชนบ้านภูเขาแก้ว                            อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

2. ชุมชนบ้านหัวทุ่ง                                อำเภอเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่

3. ชุมชนบ้านท่าต้นธง                             อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย

4. ชุมชนโคกห้วยวังแสงและโคกหนองกุง         อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

5. ชุมชนตำบลกุดเสลา (ป่าชุมชนโคกทำเล)      อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

6. ชุมชนบ้านห้วยยาง                              อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี

7. ชุมชนตำบลหนองบัวสะอาด           อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

8. ชุมชนบ้านหลางตาง                            อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

2. ประเภทบุคคล จำนวน 8 ผลงาน ประกอบด้วย

1.นายดวงแก้ว สมพงษ์                         อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน

2.นายเดชา จือเหลียง                    อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

3.นายอุดม ทาส่วย                         อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น

4.หลวงตาปพนพัชร์ จิรธัมโม                  อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

5.นางสนิท ทิพย์นางรอง                        อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

6.นายอุทัย บางเหลือ                                            อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

7.นายสุวัฒน์ ดาวเรือง                                          อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

8.นายเลื่อน มีแสง                                               อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

3. ประเภทกลุ่มเยาวชน จำนวน 4 ผลงาน ประกอบด้วย

  1. กลุ่มเยาวชนรักษาความสะอาดสู่ชุมชนไร้ถังขยะโรงเรียนอนุบาลทับสะแก อำเภอทับสะแก
         จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  2. โรงเรียนชุมชนบ้านหายโศก (กลุ่มเยาวชนต้นกล้าภูมิรักษ์)  อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
  3. กลุ่มเยาวชนยิ้มแฉ่งให้ด้วยใจ                 อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  4. โรงเรียนบ้านป่าทุ่ง                            อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

4. ประเภท “สิปปนนท์ เกตุทัต” รางวัลแห่งความยั่งยืน จำนวน 7 ผลงาน ประกอบด้วย

  1. ชุมชนบ้านขอใต้ – ขอเหนือ                  อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
  2. ชุมชนบ้านเหล่าเหนือ                         อำเภอสอง จังหวัดแพร่
  3. ชุมชนตำบลจอมศรี                            อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
  4. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชุมชน ริมฝั่งลำน้ำชี อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
  5. ชุมชนตำบลสงเปือย (ป่าชุมชนดงต่อ)        อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
  6. ชุมชนตำบลวังตะกอ                           อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
  7. ชุมชนบ้านถ้ำตลอด                           อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

5. ประเภทงานเขียน  จำนวน 4 ผลงาน ประกอบด้วย

รางวัลดีเด่น    –

รางวัลชมเชย จำนวน 4 ผลงาน ได้แก่

  1. ทุ่งหยีเพ็ง บ้านอุ่น ป่าเย็น                     โดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนรุ่งอรุณ
  2. คืนเหง้าเหล่ากอ                               โดย วัฒนา ธรรมกูร
  3. ป่า ดอย บ้านของเรา                         โดย นางวิรตี ทะพิงค์แก
  4. มหัศจรรย์แห่งคราม                           โดย นายก่อคเณศ รุ้งสันเทียะ

6. ประเภทความเรียงเยาวชน จำนวน 9 ผลงาน ประกอบด้วย

  • เยาวชนอายุไม่เกิน 15 ปี จำนวน 4 ผลงาน

รางวัลดีเด่น จำนวน 2 ผลงานได้แก่  

  1. ความทรงจำที่หาซื้อไม่ได้                      โดย น.ส.รัตนาภรณ์ พันธ์พิริยะ
  2. ตุ้มกุ้ง ฮักบ้านเกิด                              โดย ด.ช.เทวา สามารถ

รางวัลชมเชย จำนวน 2 ผลงานได้แก่

  1. เสน่ห์ของธรรมชาติ                          โดย ด.ญ.สุพรรษา แสงใหญ่
  2. จากแสนแสบสู่ป่าเขียว                     โดย ด.ช.อิทธิพัทธ์ กิตติศรีไสว
  3. เยาวชนอายุระหว่าง 16 – 25 ปี จำนวน 5 ผลงาน

รางวัลดีเด่น จำนวน 2 ผลงานได้แก่  

  1. แม่น้ำบางปะกง มหานทีแห่งชีวิต             โดย นายกิตติ อัมพรมหา
  2. บึงบัวบานและความสำราญของเด็กๆ        โดย นายภัทรพล เชียงเจริญ

รางวัลชมเชย จำนวน 3 ผลงานได้แก่

  1. สวนไผ่ของป้า                                 โดย น.ส.สุดารัตน์ แสงสว่าง
  2. เพียงในความทรงจำ                           โดย นายวิชัย เชอหมื่นกู่
  3. บ้านเล็กบนทางช้างผ่าน                      โดย น.ส.วารี คมขำ

7. ประเภทสื่อมวลชน จำนวน 2 ผลงาน Green Innovation & SD 2.Facebook : ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป